แม้ Fintech (ฟินเทค) จะเป็นกระแสที่หลายคนตื่นตัวและให้ความสนใจ แต่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Fintech (ฟินเทค) กลับยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก กฎหมายเหล่านี้ตั้งต้นจากอะไร สิ่งไหนที่เหล่า Startup (สตาร์ทอัพ) และนักลงทุนควรรู้และระวังไว้ เพื่อไม่ให้เผลอทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
Fintech หรือ Financial Technology หรือกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกรรมทางการเงิน การลงทุน และประกันภัย เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด
ด้วย Fintech (ฟินเทค) เป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอวิธีการทำธุรกิจแบบใหม่ ด้วยช่องทางใหม่ การบริการใหม่ ในลักษณะที่แตกต่างไปจากการทำธุรกรรมแบบเดิม ๆ Fintech (ฟินเทค) จึงอาจจะต้องแหวกขั้นตอน กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ หรือกฎหมายเดิม ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
และด้วยการเล็งเห็นจากทุกภาคส่วนว่า Fintech (ฟินเทค) จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาธุรกรรมทางการเงินแบบเดิม ๆ การบริการของ Fintech (ฟินเทค) แบบใหม่จะช่วยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบันได้ และมองเห็น Fintech (ฟินเทค) จะช่วยพัฒนานำพาประเทศไปแนวทางเดียวกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลก
ทุกภาคส่วนจึงเห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อลดอุปสรรคในการทำธุรกรรมทางการเงิน การลงทุน และประกันภัยด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หากต้องการนำ Fintech (ฟินเทค) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายที่สอดคล้องและรองรับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ใน Fintech (ฟินเทค) นี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ Fintech (ฟินเทค) ได้เข้าถึงข้อมูลจำเป็นได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยีมาให้บริการในธุรกรรมทางการเงินได้จริง ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างแท้จริง
เป็นที่มาของการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ร่างพ.ร.บ. ฟินเทค โดยหากพ.ร.บ. นี้ผ่านเป็นกฎหมาย จะใช้ควบคุมทั้งตลาดเงินและตลาดทุน จาก พ.ร.บ. ฟินเทคระบุว่าผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการการเงิน มีดังนี้
- สถาบันการเงิน
- ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- ผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัย
- ผู้ประกอบธุรกิจการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox)
- และบุคคลอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการจะประกาศกำหนด
กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน ประกอบไปด้วย
- ประธานกรรมการ: นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
- รองประธานกรรมการ: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- กรรมการ 7 ท่าน: ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 5 ท่าน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี: ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านเทคโนโลยีและด้านการเงินอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน
โดยที่ให้คณะกรรมการส่งเสริมการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งจัดทำแผนส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน
- ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
- วินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้
- ออกแนวปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
- วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
ร่างพ.ร.บ. ฟินเทคนี้ มีหัวใจสำคัญอยู่ 4 ด้าน ได้แก่
- การให้ความเชื่อมั่นว่ากฎหมายจะรองรับการทำธุรกรรม ทั้งด้านการเงิน การลงทุน และประกันภัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เทียบเท่าการทำธุรกรรมแบบปกติ ธุรกรรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เทียบเท่าการทำธุรกรรมแบบปกติ ได้แก่
- ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
- ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินของรัฐ
- ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
- ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิต
- ธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์
- การมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงแทนผู้ถือหลักทรัพย์
- การประชุมและการออกเสียงลงคะแนนผู้ถือหุ้น
- ธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินการลงทุนอื่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
- อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ Fintech (ฟินเทค) ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจำเป็นในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ ทั้งนี้เพื่อที่ผู้ประกอบการธุรกิจจะได้ทำข้อมูลนี้เพื่อใช้ในการดำเนินการรู้จักลูกค้า (KYC: Know Your Customer) และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD: Customer Due Diligence)
- ให้การรับรองว่าการแสดงตนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่ลูกค้าไม่มาปรากฏตัวต่อหน้าผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินได้ โดย พ.ร.บ. ได้กำหนดไว้ว่าการแสดงตนและการตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้ในระบบธุรกรรมทางการเงิน สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และให้ผลเท่ากับการแสดงตนและตรวจข้อมูลลูกค้าที่มาปรากฏต่อหน้า
- อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบธุรกิจ Fintech (ฟินเทค) สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้มีการปกปิดตัวตนแล้ว ในครอบครองของหน่วยงานรัฐได้ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการทำธุรกรรมทางการเงินได้ และรองรับการเปิดเผยข้อมูลที่ได้ปกปิดตัวตนแล้ว โดยความสมัครใจของทั้งภาครัฐและเอกชน
- กำหนดให้หน่วยงานรัฐหรือเจ้าของข้อมูลสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินหรือผู้ขอข้อมูลได้ตามสมควร
- กรณีมีผู้กระทำการละเมิดต่อข้อมูลที่ได้มีการปกปิดตัวตนนี้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้ระงับหรือละเว้นการกระทำนั้น หรือฟ้องคดีเพื่อสั่งไม่ให้ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
- การฝ่าฝืนข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวข้อมูลกำหนดโทษสูงสุดคือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แม้ว่ากระแสของ Financial Technology (เทคโนโลยีทางการเงิน) จะเริ่มมีมาเพียงไม่นาน และประชาชนทั่วประเทศจะรับรู้เกี่ยวกับ Fintech (ฟินเทค) น้อยมาก แต่เทคโนโลยีทางการเงินได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนมานานแล้ว เช่น การใช้บัตร ATM, บัตรเครดิต, ธนาคารออนไลน์ (ibanking), การซื้อขายหุ้นออนไลน์ รวมถึง Social Media Facebook, Twitter, Instagram, Line เป็นต้น
เมื่อร่างกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงินผ่าน ส่งผลให้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีและมีวัตกรรมใหม่ ๆ ในการให้บริการธุรกรรมด้านการเงินเด่นชัดมากขึ้น สิ่งสำคัญและเร่งด่วนที่ควรจะทำควบคู่ไปกับพัฒนาวัตกรรมทางด้านการเงิน คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงินให้มากขึ้น ประชาชนต้องรับรู้ว่า Fintech (ฟินเทค) จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ อย่างไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนได้เริ่มเรียนรู้และปรับตัว การพัฒนา Fintech (ฟินเทค) ถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นำไปสู่การพัฒนาด้านการเงินและเศรษฐกิจของประเทศแบบก้าวกระโดดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน